เมล่อน / Melon
ย้อนความไปถึงอัตชีวประวัติของเมล่อนกันก่อน เมล่อน (Melon) จัดอยู่ในตระกูลของแตง อย่างแตงโม แตงกวา ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับแคนตาลูป แต่มีรสชาติที่แตกต่างกัน ความหอมของกลิ่นและเนื้อของเมล่อนจะแตกต่างขึ้นกับสายพันธุ์ ซึ่งสายพันธุ์ญี่ปุ่นจะมีความพิเศษที่มีความหอม รสหวาน และความอร่อย ดูได้จากราคาของเมล่อน และความนิยมในญี่ปุ่นจากซีรี่ย์ที่ฉายในบ้านเรา ในเมล่อนหนึ่งลูกจะมีวิตามินซี ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ สร้างคอลลาเจน ควบคุมระดับคอลเรสเตอรอล, วิตามินเอ มีสารต้านอนุมูลอิสระ บำรุงสายตาช่วยในการมองเห็น บำรุงผิว, เบต้าแคโรทีน, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส และธาตุเหล็ก แถมไม่มีไขมันและคอเลสเตอรอล แคลอรี่ต่ำ เหมาะกับคนที่ต้องการลดน้ำหนัก อีกอย่างหนึ่งในเมล่อนจะมีสาร Superoxide Dismutase สรรพคุณช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดกระบวนการทางเคมีในร่างกาย ลดระดับความเครียดในตัวเราได้ ความเจ็บปวดและปัญหาการนอนหลับยากลดลงได้ เสริมสร้างให้กระบวนการเรียนรู้ดีขึ้น อย่างมีสมาธิระหว่างเรียนอยู่ ลดอารมณ์โมโหฉุนเฉียว และมีสารต้านมะเร็งอีกด้วยเมล่อน
แคลอรี่ใน 100 กรัมของเมล่อนแคลอรี่ 29.5 กิโลแคลอรี่
คาร์โบไฮเดรต 7.0 กรัม
โปรตีน 0.7 กรัม
ไขมัน 0.1 กรัม
ไฟเบอร์ 0.5 กรัม
ซุปเปอร์ออกไซด์ ดิสมิวเทส, Superoxide dismutase (S.O.D.) คือ เอนไซม์ชนิดหนึ่งในระบบป้องกันที่เป็นตัวทำลายอนุมูลอิสระที่เกิดจากการเผาผลาญภายในเซลล์ ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญของร่างกาย เอนไซม์ชนิดนี้มีอยู่ในร่างกายตั้งแต่แรกเกิด แต่จะมีปริมาณลดลงเรื่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น
การกำจัดอนุมูลอิสระด้วยเอนไซม์ซุปเปอร์ออกไซด์ ดิสมิวเทส, Superoxide dismutase (S.O.D.) โดยขั้นแรก S.O.D. จะเปลี่ยนอนุมูลอิสระ ให้เป็นไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H2O2) ก่อน แล้วหลังจากนั้น จะมีการทำปฏิกิริยาต่อด้วยเอนไซม์คะตาเลส ทำให้ได้น้ำ(H2O) และก๊าซออกซิเจน (O2) เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้าย ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย
ส่วนอีกวิธี ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ H2O2 ที่เกิดขึ้น จะทำปฏิกิริยากับกลูตาไธโอน โดยมี กลูตาไธโอนเปอร์ ออกซิเดส เป็นเอนไซม์เร่งปฏิกิริยา แล้วในที่สุดจะได้น้ำ(H2O) และก๊าซออกซิเจน (O2) เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายเช่นเดียวกัน ดังนั้น S.O.D. จึงเป็นเอนไซม์ที่สำคัญมาก เพราะถ้าขาด จะทำให้ไม่สามารถเกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องในการเปลี่ยนอนุมูลอิสระให้เป็นสารที่ไม่มีพิษ เช่น น้ำ และออกซิเจนได้
สารต้านอนุมูลอิสระสามารถลดความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคเรื้อรังที่สัมพันธ์กับอาหาร เช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคทางสมอง เช่น อัลไซเมอร์ เป็นต้น รวมทั้งช่วยชะลอกระบวนการบางขั้นตอนที่ทำให้เกิดความแก่ โดยปกติแล้วร่างกายสามารถกำจัดอนุมูลอิสระก่อนที่มันจะทำอันตรายต่อร่างกาย แต่ถ้ามีการสร้างอนุมูลอิสระ มากเกินกว่าที่ร่างกายจะสามารถกำจัดมันได้ในทันที อนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น จะสร้างความเสียหายต่อเซลล์ และเนื้อเยื่อได้ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สารต้านอนุมูลอิสระลดความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระได้ ๒ ทาง คือ
ลดการสร้างอนุมูลอิสระในร่างกาย
ลดอันตรายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น